
การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น
เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาค การเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุน
ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี การทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน
และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ
การทำสวนสมุน ไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร การทำถ่านชีวภาพ
การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและกรทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น
มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด
เงินทุน การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่
มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ
เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด
การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดตั้งร้านค้าชุมชน
การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ
การรวมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน
หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว บนพื้นฐานของการปลูกฝัง
สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ
มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น
ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอ
เพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ
แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่
ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการ ยึดมั่นในหลักการ ๓
ประการ เหมือนกัน คือ
การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง
รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น
ในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนิน กิจกรรมต่าง
ๆ คือ
เมื่อปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา
ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย ด้วย ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่
ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัย
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน
การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการของตนเองลง
เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น