วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง

 

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม

       หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการไม่พึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
 



วัยรุ่นกับเศรษฐกิจพอเพียง


      
       การสัมมนาในหัวข้อ “วิถีชีวิตวัยรุ่นไทย ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  คุณปราโมทย์ ไม้กลัด  รักษาการสมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวไว้ว่า

       เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้จำกัดไว้เพียงแค่เรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ควรจะเรียกว่า ปรัชญาความพอเพียง และหากขยายความปรัชญาของความพอเพียงแล้ว คือไม่ว่าจะกระทำการใดๆ ก็ตามต้องทำอย่างรู้จักพอประมาณ พอดี รู้เหตุผล  เพราะหากปฏิบัติตนอยู่ในพื้นฐานของความพอเพียงแล้วจะอยู่ได้อย่างมั่นคง   หากโยงเข้าพระพุทธศาสนาก็คือทางสายกลางไม่สุดโต่ง ไม่ย่อหย่อน เรียกว่าพอดี ความพอเพียงสำหรับวัยรุ่นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะปัจจุบันเราเห็นเป็นจำนวนมากที่ผู้คนไม่เข้าใจไม่ตระหนักไม่เห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยแสวงหา เที่ยวเตร่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย มือถือ เรารู้สึกได้ว่าเขาไม่มีสำนึกตรงนี้  ปัญหาเรื่องความไม่รู้จักพอเพียงที่เกิดขึ้นนั้นจะโทษวัยรุ่นไม่ได้ ผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ครู เป็นบุคคลที่สำคัญ เพราะ ผู้ใหญ่ต้องตระหนักและชัดเจนถึงความพอเพียง ถ้าผู้ใหญ่ยังไม่รับรู้ รับทราบ ตรงนี้อันตราย  เหมือนเรื่องแม่ปู กับลูกปู เขาเห็นผู้ใหญ่เป็นอย่างไร เขาก็เป็นแบบนั้น  ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือการทำให้วัยรุ่นเข้าใจเรื่องความพอเพียง แล้วก็เรื่องค่าใช้จ่ายของเขา เขาก็ต้องมีจิตสำนึก รู้จักการบริหารเงิน รู้จักใช้จ่ายคือเราต้องทำให้เขาเข้าใจ  ตระหนักและเห็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"

 
 
 
 

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง


       เมื่อคนในสังคมหรือชุมชน สร้างครอบครัวพอเพียงได้แล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การเกิดขึ้น ของชุมชนพอเพียง ที่สมาชิกชุมชนนั้น จะรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตน บริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล และเมื่อ หลาย ๆ ชุมชนพอเพียงมารวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด

       การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาค การเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุน ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี การทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทำสวนสมุน ไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร การทำถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและกรทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด เงินทุน การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่
 
     มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด  การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน   การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน การจัดตั้งร้านค้าชุมชน  การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว   บนพื้นฐานของการปลูกฝัง สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น     ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี   ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอ เพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ              
       แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่ ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการ ยึดมั่นในหลักการ ๓ ประการ เหมือนกัน คือ        
       การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น ในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
        การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ     คือ  เมื่อปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย     ด้วย ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน
       การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการของตนเองลง    เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น
 

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มต้นที่ตนเอง

 
          การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก พึ่งตนเองคือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง
 
       การพัฒนาตนเองให้สามารถ อยู่ได้อย่างพอเพียง คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อมโดย
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพ แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือ ทุนทางสังคม
- ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิต สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 


ทฤษฎีใหม่

 
       เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต "ทฤษฎีใหม่" ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี
       หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน เช่น การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น
 
การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น
             การเลี้ยงปลาในนาข้าว ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว
    การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก
     การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว ใช้เพาะเห็ด
 
 
      การใช้แรงงานในครอบครัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น การแปรรูป และถนอมอาหาร เช่น พริกแห้ง มะนาวดอง กล้วยตาก ไข่เค็ม กระเทียมดอง ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย
 


 


 

เงื่อนไขของเศรษฐกิจพอเพียง

  

          เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ



           เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


 
 
          ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล